วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การแก้ปัญหาเด็กติดเกมส์

ปัญหาเด็กติดเกม เป็นปัญหาที่มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นและทวีความรุนแรงขึ้นตลอดเวลาทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ผลกระทบหรือโทษที่เกิดขึ้นอยู่ในหลายรูปแบบทั้งต่อสุขภาพร่างกายสุขภาพจิต สุขภาพสังคม รวมถึงต่อผลิตของชีวิต เช่น การเรียนตกเสียการงาน หรือเสียความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง ด้วยตระหนักในความสำคัญที่จะต้องมีการรณรงค์และวางแผนอย่างเป็นระบบเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ได้จัดตั้ง ศูนย์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กติดเกม เพื่อแก้ไขปัญหาพฤติกรรมติดเกม พร้อมทั้งร่วมกันหาแนวทางพัฒนาศักยภาพของครอบครัว โดยการทำงานของศูนย์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กติดเกมนี้ รูปแบบของการให้บริการรวมถึงการพัฒนาวิชการ เกมมีผลให้เสพติดได้ เนื่องจากเกมสามารถสร้างความสนุกได้แบบฉับพลัน อีกทั้งยังท้าทายให้เอาชนะได้ต่อไปที่ละน้อยๆ จึงทำให้คนเราอยากพิสูจน์ความเก่งของตนเองและไม่ยอมแพ้ ดังนั้น หากไม่เล่นด้วยความระมัดระวัง ไม่เล่นในลักษณะว่าให้มันเป็นอุปกรณ์สร้างเพลิดเพลินผ่อนคลายความเครียด โดยการจำกัดชั่วโมงการเล่น เช่น เล่นเพียงวันละครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงแบบพอสนุก แต่กลับเล่นแบบมุ่งเอาชนะให้ได้ หรือ เกมเป็นอุปกรณ์เพียงอย่างเดียวที่มีในการสร้างความสนุกสนานหรือสร้างความ ภาคภูมิใจในตนเอง ก็จะทำให้เสพติดได้ เมื่อติดแล้วการเลิกจะทำได้ยาก เพราะจะทำให้เกิดความอยาก เกิดอารมณ์หงุดหงิด ก้าวร้าวหรือทุรนทุรายได้หากไม่ได้เล่น และ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีนี้ ดูเหมือนเด็กจะเอาตัวเองเข้าไปผูกติดกับการแพ้ชนะมาก ดังนั้นเมื่อแพ้แล้วแพ้อีกทำให้คิดว่าตัวเองไม่เก่ง รู้สึกโทษตัวเอง ไม่นับถือตัวเอง ก็สามารถทำให้จบลงด้วยความคิดจบชีวิตที่ไม่เอาไหนลงได้ ซึ่งจริงๆเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะคนทุกคนล้วนมีคุณค่าในตัวเอง อย่างที่คุณพ่อให้สัมภาษณ์ว่าเด็กรายนี้เป็นกำลังสำคัญในการทำมาหากินของ ครอบครัว
สาม – กรณีนี้เด็กอาจมีความเปราะบางบางประการ ทำให้ตัดสินใจแก้ปัญหาด้วยการฆ่าตัวตายเช่นนี้ ได้แก่ เด็กรายนี้อาจมีปัญหา “หุนหันพลันแล่น” ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ จากข้อมูลข่าวที่ว่าเด็กเคยแพ้เกมแล้วขว้างปาจนเครื่องเล่นเกมพัง ซึ่งมีผลต่อการลงมือฆ่าตัวตายได้ เพราะเมื่อมีความคิดแว๊บเข้ามา ก็ลงมือทันที ต่างจากคนที่ไม่หุนหันพลันแล่น ที่แม้มีความคิดฆ่าตัวตายเช่นกัน แต่ยังคิดใตร่ตรองหรือปรึกษาคนอื่นก่อน อาจทำให้เปลี่ยนใจได้ ครอบครัวนี้มีประวัติการฆ่าตัวตายมาแล้วถึงสองคน อาจมีพันธุกรรมของโรคซึมเศร้าในครอบครัวนี้ หรือ การเห็นเป็นแบบอย่างของการแก้ปัญหา ซึ่งทำให้เพิ่มโอกาสการคิดฆ่าตัวตายได้มากกว่าคนทั่วไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น